เทศกาลกินเจ หรือประเพณีถือศีลกินผักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี

เทศกาลกินเจ หรือประเพณีถือศีลกินผักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคม 2565 รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน 9 คืน เป็นช่วงเวลาที่งดรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดและหันมารับประทานผักแทน โดยอาหารเจส่วนใหญ่มักจะมีแป้งและน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลักอีกทั้งยังมีการใช้อาหารที่ผ่านการแปรรูปมาประกอบอาหารเพื่อเพิ่มความอร่อย ดังนั้นหากผู้กินเจเลือกรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

เทศกาลกินเจ หรือประเพณีถือศีลกินผักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี

บทความนี้จะมาแนะนำ 6 วิธี ในการกินเจอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ แก่ผู้ที่สนใจกินเจเพื่อให้ได้ทั้งบุญและสุขภาพที่ดีไปด้วยกัน

รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ

โปรตีนเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายใช้โปรตีนในหลากหลายหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โดยปกติแหล่งของโปรตีนที่หลายคนรู้จักกันดีมักจะมาจากเนื้อสัตว์ แต่ที่จริงแล้วในพืชก็เป็นแหล่งโปรตีนด้วยเช่นเดียวกัน

ดังนั้น ถึงแม้ว่าช่วงกินเจจะงดรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งที่สำคัญของโปรตีน แต่ผู้กินเจสามารถได้รับโปรตีนจากพืชแทนได้ เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น สิ่งสำคัญของการรับประทานโปรตีนจากพืช คือ ควรจะรับประทานให้หมุนเวียนและหลากหลาย เนื่องจากในพืชนั้นมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบถ้วนเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ (ยกเว้นถั่วเหลืองและควินัว) โดยพืชแต่ละชนิดจะมีกรดอะมิโนจำเป็นแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การรับประทานโปรตีนจากพืชให้หลากหลายจะทำให้ผู้กินเจได้รับกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นโดยปริมาณถั่วต่าง ๆ และพืชผัก ที่ให้โปรตีน 7 กรัม (เทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ) ได้แก่

นมถั่วเหลือง 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร)

เต้าหู้แข็ง ½ แผ่น (60 กรัม)

ถั่วเหลือง ¼ ถ้วยตวง

ถั่วแดง ½ ถ้วยตวง

ถั่วดำ ½ ถ้วยตวง

อัลมอนด์ ¼ ถ้วยตวง

เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ

ถั่วลันเตา 1 ถ้วยตวง

เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนหรือข้าวแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น เนื่องจากมีใยอาหารสูง เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประโยชน์ของอาหารกลุ่มที่มีใยอาหารสูงดีต่อสุขภาพหลายประการ

  • ช่วยในเรื่องการขับถ่าย เนื่องจากทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เพิ่มมวลของอุจจาระและลดอาการท้องผูก
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ข้อมูลจาก World Cancer Research Fund International แนะนำว่าการรับประทานอาหารกลุ่มธัญพืชและกลุ่มที่มีใยอาหาร เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • ใยอาหารช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
  • ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ใยอาหารจะทำให้อิ่มนานเนื่องจากต้องใช้เวลาในการย่อย ดังนั้นจึงทำให้อยู่ท้องและลดโอกาสการกินจุกจิกระหว่างวันได้ นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มอาหารที่มีใยอาหารเยอะจะมีพลังงานที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอาหารกลุ่มอื่นในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งจากคุณสมบัติที่กล่าวมานั้นทำให้ได้รับพลังงานจากอาหารโดยรวมน้อยลง

ข้อมูลจาก  https://thainakarin.co.th/%E0%B9%89healthy-vegetarian-festival/

 

ติดตามอ่านต่อได้ที่  pays-sedanais.com